เจาะมุมมองการเลือก Tech Stack สำหรับสตาร์ทอัพยุคใหม่กับ RentSpree
เจาะมุมมองการเลือก Tech Stack สำหรับสตาร์ทอัพยุคใหม่กับ […]
Life @ Wing Develop
ปีกแห่งอิสระ วัฒนธรรมองค์กรแห่งความไว้ใจ
ทุกคนรู้ แฟนคลับรู้ โปรแกรมเมอร์แปลว่าทำงานแบบมีพันธะ มีพันธะแปว่าไม่อิสระ ฉันไม่ยอมตกเป็นทาสของคุณหรอกค่ะ….ไม่จริง! ถึงแม้ว่าการทำงานของโปรแกรมเมอร์ในภาพที่เราคิดอาจจะเป็นภาพของกลุ่มคนที่ตั้งหน้าตั้งตาจ้องหน้าจอที่ปรากฏภาษาที่คนทั่วไปยากจะเข้าใจ ต้องทำงานร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะว่ามีการนำแต่ละส่วนมาประกอบกันในตอนท้ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานแสนประทับใจชิ้นหนึ่งที่พร้อมจะส่งไปให้กับลูกค้า จึงจำเป็นต้องมีที่ทำงานเป็นหลักแหล่งเพื่อที่ทุกคนจะสามารถประสานงานกันได้อย่างเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้นเลยกับ Wing Develop สตูดิโอสำหรับโปรแกรมเมอร์ไฟแรงที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อให้ทุกที่บนโลกคือที่ทำงาน
Wing Develop
คือ Develop Studio ขนาดไม่ใหญ่มาก โดยการนำของ ภควัฒน์ บุญยัง หรือที่หลายคนเรียกว่า อาจารย์แมค CEO ประจำบริษัท Wing Develop และเป็นผู้สอน ด้านการเขียน Java script แห่ง CodeCamp ที่สนับสนุนโดย Software Park Thailand และสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย นอกจากนี้ยังได้รับโอกาสเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย ซึ่ง Wing Develop มีความพิเศษด้านวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เหมือนใคร เรียกได้ว่าติดปีกให้กับพนักงานทุกคนตามชื่อเลยทีเดียว
ปีกแห่งอิสระในการทำงาน: ที่ทำงานที่ไม่ใช่ออฟฟิศ และออฟฟิศที่ไม่ใช่ที่ทำงาน
“ผมเชื่อว่าคงไม่มีบริษัทไหนที่ให้พนักงานเอาเบียร์ขึ้นมาดื่มในเวลาทำงานใช่มั้ยครับ?”
“คุณอาจจะเห็นได้ที่ออฟฟิศเรานี่แหละ”
ที่ Wing Develop พนักงานทุกคนมีอิสระและสามารถเลือกทำงานที่ไหนก็ได้บนโลก เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถึงเวลาที่ต้องมีงานส่งก็ควรจะได้งานที่สมบูรณ์ อิสรภาพดังกล่าวนี้มาจากความเข้าอกเข้าใจอย่างลึกซึ้งของ CEO อย่างอาจารย์แมค เนื่องจากตัวอาจารย์เองก็เคยเป็นพนักงานของบริษัทต่าง ๆ มาก่อน ดูแลโปรเจกต์ต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน และเข้าใจเป็นอย่างดีว่าในฐานะโปรแกรมเมอร์นั้น ตนต้องการสภาพแวดล้อมและรูปแบบการทำงานแบบไหนที่จะเอื้อต่อการทำงานมากที่สุด เขาจึงเลือกการบริหารแบบ Country Club Style หรือการบริหารที่ค่อนข้างหละหลวมและให้อิสระพนักงานในการจัดการภาระงานของตัวเอง ออฟฟิศจึงเป็นเหมือนสถานที่ที่พนักงานทุกคนมาเพื่อพบปะพูดคุยกันเสียมากกว่า
แต่เราทราบก็กันดีว่าการทำงานรูปแบบนี้เป็นดาบสองคม เพราะอาจทำให้ไม่เกิดงานเลยก็ได้หากให้อิสระกับพนักงานมากเกินไป แต่ที่ Wing Develop แทบไม่เกิดปัญหานั้นเลย เป็นเพราะอะไร?
ปีกที่พยุงกันและกันด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ: การจัดการทรัพยากรบุคคลภายบนพื้นฐานของความเกื้อกูล
“ความไว้เนื้อเชื่อใจ” เป็นคำพูดนามธรรมที่จับต้องไม่ได้เลย แต่ที่ Wing มันกลับมีน้ำหนักอย่างชัดเจน และมีมากพอที่ทำให้ทุกโปรเจกต์ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างลุล่วงโดยที่แทบจะไม่มีข้อผิดพลาด พนักงานของ Wing รวมถึงตัวผู้บริหารอย่างอาจารย์แมคเองใช้คำนี้เป็นหลักในการทำงาน และเพราะคำคำนี้เองที่ทำให้บริษัทนี้ทำงานได้อย่างมีความสุข
ที่บริษัทมีหลักสำหรับพนักงานในการทำงานร่วมกันอยู่ 3 ข้อ
จากทั้งสามข้อจึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดพนักงานจึงทุ่มเทให้กับงานที่ตนเองได้รับอย่างเต็มกำลัง เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจไม่ใช่แค่คำพูดลอย ๆ แต่กลืนกับวัฒนธรรมองค์กรจนเป็นเนื้อเดียวกัน ในฐานะพนักงานคนหนึ่งเราสามารถสัมผัสได้ถึงความช่วยเหลือเกื้อกูลได้จากหลักปฏิบัติดังกล่าวแล้ว และนอกจากนั้นยังสัมผัสได้ถึงความเหนียวแน่นประหนึ่งเป็นครอบครัวที่ทุกคนหวังดีแก่กันมากกว่า
นอกจากหลักปฏิบัติที่กล่าวถึงไป อีกสิ่งสำคัญที่บริษัทให้ความสำคัญอย่างมากคือ การสื่อสาร อาจารย์เชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่ชำนาญและทุกคนมีโอกาสที่จะผิดพลาด ฉะนั้นการสื่อสารภายในองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการสื่อสารนี่เองที่จะช่วยให้ทุกคนเห็นภาพของปลายทางตรงกัน ลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดในการทำงาน และเพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันด้วย
อย่างไรก็ดีวัฒนธรรมที่โดดเด่นของ Wing Develop ไม่ได้มีเพียงแต่เรื่องของการจัดการบุคคลแต่ยังมีแนวคิดเรื่องการจัดการกับเนื้องานอย่างมีคุณภาพอีกด้วย
ปีกแห่งความจริงใจและวิสัยทัศน์ในการทำงาน: รู้จักประมาณตนและซื่อสัตย์ต่อตนเอง
“เราจะรับงานเท่าที่เราทำไหวตามทรัพยากรที่เรามี และเราตอบลูกค้าอย่างจริงใจเสมอหากเราไม่สามารถรับงานที่เสนอมาได้จริง ๆ”
การประเมินความสามารถของทรัพยากรที่ตนเองมีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อให้การทำงานในบริษัทไม่อยู่ในความกดดันมากเกินไป และที่สำคัญกว่านั้นอาจารย์ให้ความสำคัญในเรื่องของ Gap ช่องว่างหรือเวลาว่างที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เพื่อที่รุ่นพี่หรือคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของตนเองสำเร็จแล้วได้สอนงานรุ่นน้อง อาจารย์แมคกล่าวว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมา การสอนงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นปัญหาลูกโซ่ที่บั่นทอนกำลังใจในการทำงานสายนี้ “หากรุ่นน้องทำไม่ได้ก็จะถูกรุ่นพี่ต่อว่า และน้องก็จะบอกว่ารุ่นพี่ไม่สอนงาน หัวหน้าก็จะลงมาต่อว่ารุ่นพี่ที่ไม่สอนงาน และรุ่นพี่ก็จะถามกลับไปที่หัวหน้าว่าจากงานที่มอบหมายมาให้แล้ว เขาจะมีเวลาให้สอนขนาดไหนล่ะ” กลายเป็นว่ามันไม่ใช่ปัญหาของใครสักคนแต่เป็นปัญหามาตั้งแต่ผู้บริหารแล้ว ฉะนั้นข้อดีของบริษัท Wing Develop ซึ่งมีขนาดเล็กจะช่วยให้รุ่นพี่รุ่นน้องหรือแม้แต่ผู้บริหารเองสามารถเข้าถึงกันได้ง่ายและสอนงานกันได้ง่ายนั่นเอง แต่ช่องว่างดังล่าวที่จะนำมาใช้สอนงานมันมาจากไหน?
“เราต้องมองภาพให้ขาดแล้วสับย่อยให้ละเอียดก่อนที่จะมอบหมายให้กับพนักงาน”
ภาพดังกล่าวคือตัวเนื้องานนั่นเอง นี่คือทักษะสำคัญของผู้บริหารด้านโปรแกรมมิ่งที่อาจารย์แมคพูดถึง กล่าวคือผู้บริหารต้องมองภาพให้ออกทั้งหมดว่าโปรเจกต์ที่รับมานั้นต้องมีขั้นตอนอะไรบ้างในการดำเนินการอย่างถี่ถ้วนเพื่อที่จะได้ผลลัพธ์สุดท้าย และแบ่งมันออกมาเป็นงานย่อยให้ได้ก่อนที่จะมอบหมายมันออกไปแก่ลูกน้อง ฉะนั้นช่องว่างที่เกิดขึ้นก็มาจากการที่ลูกน้องสามารถจัดการกับงานย่อยนั้นสำเร็จลุล่วงแล้วนั่นเอง อย่างไรก็ตามการที่จะมองภาพให้ขาดก็ต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝนทำงานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนั่นก็คือที่มาของการสอนงานนั่นเอง
แล้วความซื่อสัตย์กับลูกค้าเกี่ยวข้องอย่างไร? การที่ซื้อสัตย์กับลูกค้าเนื่องจากทราบศักยภาพของตนเป็นอย่างดี คือปัจจัยหลักที่ช่วยให้แบ่งงานย่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดที่อาจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการดำเนินงาน และเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความชำนาญและน่าเชื่อถือในการจัดการกับเนื้องานที่ได้รับให้กับลูกค้าได้อีกด้วย
อยากติดปีกบินไปกับ Wing Develop ด้วยต้องทำอย่างไร
เรามีพนักงานน้อย แต่หากจะรับคนเพิ่มเราก็อยากจะมั่นใจว่าเค้าตรงกับ requirement ในแต่ละโปรเจกต์ที่เราเสนอไปขนาดไหน เพราะหากเรารับมาโดยที่รู้ว่าศักยภาพของเขาไม่สามารถทำงานที่เรามอบหมายให้ได้เท่ากับว่าเรารับคนเข้ามาทรมาน และนอกจากนั้นมันก็จะบีบคั้นจนเค้าไม่มีความสุข ในการทำงานเลย
เคยเจอกรณีที่รับเข้ามาแล้วเขาสู้ไม่ไหวเหมือนกัน แต่เราก็ให้ความช่วยเหลือจนถึงที่สุด ให้รุ่นพี่เข้มข้นกับการสอนงานให้ หรือแม้กระทั่งซื้อคอร์สให้เรียนเพิ่มเติม ถ้าเขายังทำไม่ได้ ตัวเขาเองจะเป็นคนตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อหรือจะเดินออกไป เราไม่เคยไล่ใครออกหรือเคยแบล็กลิสต์ใครมาก่อน แต่ถ้าออกไปแล้วไปฝึกฝนทักษะจนชำนาญและมีความพร้อมที่จะทำงานต่อไปจริง ๆ เราก็พร้อมจะรับเขากลับเข้ามาทำงานใหม่เหมือนกัน แต่ที่สำคัญคือเราต้องพิจารณาอีกทีว่าทักษะที่เขามีมันตรงกับ requirement ที่เรากำหนดไว้จริง ๆ
ฉะนั้นหากต้องการจะเตรียมตัวเพื่อเข้ามาสมัครทำงานกับเรา อาจารย์แมคแนะนำว่าให้ฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอจนมีทักษะเพียงพอและพร้อมต่อ requirement ที่บริษัทประกาศออกไป สิ่งหนึ่งที่อยากให้พกมาด้วยคือทัศนะคติที่สู้งาน เพราะหากจะพัฒนาตนเองต่อหรือกังวลว่าจะสร้างความผิดพลาด มันไม่ใช่ปัญหาสำหรับบริษัทที่ขนาดเล็กที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจและมีการดูแลกันแบบนี้เลย
โอกาสดีๆมาถึงแล้ว !
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.wing.co.th/
ดูคลิปสัมภาษณ์เต็มๆ