การพัฒนา และสร้างเว็บเพจ มีหัวใจหลักอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ HTML, CSS และ JavaScript โดย HTML เป็นส่วนโครงสร้างหลักของเว็บเพจ CSS ใช้เพื่อปรับแต่งหน้าตาของเว็บเพจให้สวยงาม ส่วน JavaScript ใช้เพิ่มแต่งเติมลูกเล่นในการแสดงผลบนเว็บเพจ เช่น คลิกเมาส์ การตรวจสอบการกรอกข้อมูลในฟอร์ม การเลื่อนหน้าจออัตโนมัติตามเวลาที่กำหนด ฯลฯ
JavaScript เป็น Script Language
สิ่งแรกที่เราต้องทราบเกี่ยวกับ JavaScript คือ เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เขียนลงบนเว็บเพจ โดย Web Browser จะเป็นผู้อ่านโค๊ตและตีความหมาย แล้วจึงแสดงผลออกบนหน้าจอ จะเห็นได้ว่า JavaScript จะต้องอาศัย Web Browser จึงไม่สามารถเขียนโปรแกรมแยกเป็นอิสระได้ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้โดยตรง หรือไม่สามารถเข้าใช้งานฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่น USB, CD-Rom เป็นต้น
JavaScript เป็น Client Side Script ซึ่งหมายความว่ามีการแปลโค๊ตในฝั่งของ Client ซึ่งหมายความว่า หากเราเขียนโค๊ต JavaScript เราก็สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแสดงผลลัพธ์ได้นั้นเอง แต่ก็มีข้อยกเว้น คือ Node.js และ Google Apps Script จะทำงานในฝั่ง Server-side ที่ต้องใช้เครื่อง Server ทำการประมวลผลแล้วจึงส่งผลลัพธ์มาให้เราอีกครั้งหนึ่ง
JavaScript บน Browser
ในเว็บบราวเซอร์สามารถ disabled JavaScript ได้ ซึ่งหมายความว่าไม่ต้องการให้มีการรันคำสั่ง JavaScript แต่ในความเป็นจริงในปัจจุบันค่า Default ของทุกๆ บราวเซอร์จะรองรับ JavaScript แต่การเขียนสคริป เราจะต้องเผื่อไว้ว่า หาก Browser ไม่รองรับ JavaScript เว็บไซต์ของเราจะต้องใช้งานได้ตามปกติ
เนื่องจาก Web Browser ที่ต่างกัน จะมีการแสดงผลของ CSS และ JavaScript ที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับว่า อ้างอิงกับ JavaScript ตัวใด จุดเริ่มต้น Nescape พัฒนา LiveScript ในปี 1995 จากนั้นในปี 1996 ก็เปลี่ยนเป็น JavaScript ซึ่งในขณะนั้น Internet Explorer ก็พัฒนา JScript ออกมา ในปี 1997 ทาง Nescape ได้ดันให้ JavaScript เป็นมาตรฐาน โดยใช้ชื่อว่า ECMAScript ต่อมาในปี 1999 ก็ได้เสนอ ECMAScript 3 ซึ่ง Browser ส่วนใหญ่ให้การรับรอง (IE, FireFox, Chrome, Opera, Safari) และในปี 2009 ก็ได้้ใช้ ECMAScript 5 และใช้งานต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
ด้วยการที่ JavaScript ที่ใช้อ้างอิงกับ ECMAScript 5 ซึ่งเป็นมาตรฐาน เราจึงสามารถใช้ JavaScript ได้อย่างกว้างขวาง สามารถใช้งานกับ Mac, PC, Linux, Unix สามารถใช้ JavaScript ร่วมกับภาษายอดนิยมไม่ว่าจะเป็น ASP.NET, ColdFusion, PHP, Ruby on Rails
เริ่มเขียน JavaScript
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการเขียน JavaScript อย่างง่ายๆ โดยผลลัพธ์จะเป็นการแสดงหน้าต่างโต้ตอบบนเว็บบราวเซอร์
1. เปิดโปรแกรมประเภท Text Editor เช่น Notepad++ จากนั้นให้กรอกโค๊ตนี้ลงไป
2. เซฟไฟล์แล้วตั้งชื่อว่า Hello.html แล้วดับเบิ้ลคลิกเพื่อเปิดไฟล์ หรือคลิกขวาแล้วเลือกเปิดด้วยบราวเซอร์ที่ต้องการ
4. ผลลัพธ์จะปรากฏหน้าต่าง แสดงคำว่า Hello World! บนหน้าจอ ซึ่งรูปร่างหน้าต่าง หรือสีสันของหน้าต่างอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าเปิดด้วย Web Browser ตัวใด
Note
JavaScript ไม่ใช่ Java ไม่ใช่เวอร์ชัน Lite ของ Java เป็นการแยกพัฒนาต่างหาก เวลาเขียนไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมพิเศษ ใช้เพียงแค่ Text Editor เท่านั้นเอง และที่สำคัญ JavaScript จะต้องรันบนเว็บเพจ เท่านั้น
ที่มา: http://www.swift-tutor.com/