How to Get Hired by Top Tech Companies
Disclaimer เนื้อหาในบทความนี้เป็นมุมมองของผู้เขียนเพียง […]
จากตอนที่แล้วเรื่อง [Startup CTO ตอนที่ 1] – CTO คืออะไร? Startup ดียังไงในแง่มุม Programmer? ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี แต่สำหรับผมการเขียน Program ก็ยังง่ายกว่าเขียน blog ประมาณ 4 เท่า ยังไงก็จะลองปรับปรุงและทำ skill การเขียนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ นะครับ โดย Series นี้ผมจะให้ CTO แต่ละบริษัท (หรือบางกรณี CTO ก็เป็น CEO ด้วย) มาเล่าเรื่องที่น่าสนใจของบริษัทตัวเองในแง่ที่ Programmer น่าจะสนใจ วันนี้เราเลยมาเริ่มต้นที่เรื่องราวของบริษัท Wongnai หรือบริษัทวงใน มีเดีย จำกัด
Wongnai ขอ copy บทสัมภาษณ์จาก Blognone เลยละกันครับ
“เราทั้งสี่คน ยอด ชินสุภัคกุล (CEO), ภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ (CTO), ศุภฤทธิ์ กฤตยาเกียรณ์ (Software Architect), วรวีร์ สัตยวินิจ (Development Manager) เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกันสมัยเรียนวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเลยรู้จักกันมาก่อนครับ หลังเรียนจบแล้วทั้งสี่คนก็แยกย้ายกันไปทำงานประจำอยู่ช่วงหนึ่ง ยอด (CEO) ได้ไปเรียนต่อ MBA ในสหรัฐฯ ได้พบบริการอย่าง Yelp และใช้อยู่เป็นประจำ พอช่วงเบรกได้กลับมาเยี่ยมเมืองไทย แล้วพบว่าไม่มีบริการแบบเดียวกัน เวลาไปเที่ยวอย่างพัทยาก็ยังหาร้านอาหารที่น่าสนใจยาก การบอกทางก็ทำได้ลำบาก จึงได้ชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมกันทำบริการแบบนี้ในเมืองไทย” — ที่มา Blognone
โดยข้อมูลอื่นๆ สามารถดูได้จากบทสัมภาษณ์ที่ Blognone และ Droidsans ละกันครับ ผมไม่อยากกล่าวซ้ำหรือมาเรียบเรียงใหม่ทำ link เฉยๆ ดีกว่า
แต่ส่วนที่เน้นคือประโยคที่ยกมาด้านบนนั่นแหล่ะครับ โดยจากที่เห็นคือทั้งทีมผู้ก่อตั้งมาจากสายงาน Programmer ทั้งนั้น และส่วนใหญ่ยังคงทำหน้าที่สาย Development กันอยู่ (CTO, Software Architect, Development Manager) นับได้ว่าทีมนี้มีความรักในการ Develop จริงๆ นับว่าเป็นหนึ่งใน Startup ที่ก่อกำเนิดจาก Technical background จริงๆ โดยเรื่องพวกนี้สามารถเห็นได้ตั้งแต่งาน Code Mania 01 (ดู Video ย้อนหลังที่ Link นี้) ซึ่งมีอาจารย์ที่ภาคคอมวิศวะจุฬาของผมแชร์ ทางพี่ยอด (CEO) เลยถามหา Sponsor ซึ่งตอนนั้นผมก็เลยทักไปทาง facebook และคุยต่อเนื่องจน Wongnai ก็ได้ Sponsor งานของเราในครั้งนั้น แล้วหลังจากนั้นผมก็เห็นทาง CTO พี่บอยวงในใส่เสื้อยืด Wongnai ไปปรากฎตัวตามงานต่างๆ ของสมาคมฯ เราอยู่เรื่อยๆ นับได้ว่า Wongnai เป็นบริษัทนึงที่เห็นความสำคัญของ Programmer เป็นอย่างดีและพร้อมจะสนับสนุน Programmer ให้ได้รับความรู้ และประสบการณ์ที่หลากหลายจริงๆ (หลังจากนั้นผมได้มีโอกาสไปพูดคุยกับพี่ยอดและพี่บอยที่ Office Wongnai เลยมั่นใจในแนวทางว่าบริษัทนี้ค่อนข้างเหมาะกับชาว Programmer อย่างเราๆ จริงๆ ครับ)
จนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมเกิด idea อยากให้ CTO บริษัทต่างๆ มาแชร์เรื่องราวที่ Programmer น่าจะสนใจเลยขอความร่วมมือไปยังพี่บอยให้ช่วยแนะนำบริษัทในแง่มุมที่ Programmer น่าจะสนใจ รวมถึง Technology หรืองานจ๊าบๆ ที่ Programmer จะสนใจกัน ทางพี่บอยก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ถึงกับเขียน Blog ขึ้นมาให้ผมเอาข้อมูลไปใช้เลยทีเดียว (Blog ยังไม่ Publish แต่ผมขอหยิบบางส่วนมาแชร์ก่อน ถ้า Publish แล้วจะใส่ Link ให้นะครับ)
“พี่บอย ภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ CTO วงใน”
อันนี้แทรกเล่นๆ ไม่เกี่ยวกับ Wongnai นะครับ แต่เผื่อใครมาอ่านจะอาจจะไป Adapt กับองค์กรท่านได้
** ที่มา Quora
facebook – “Facebook’s Hack Month”
Dropbox – “Dropbox’s Hack Week”
LinkedIn – “LinkedIn’s Food Truck Fridays”
VMware – “VMware’s Giving Program”
ที่เหลือลองอ่านเพิ่มเติมกันเองนะครับ
กลับมาเรื่องวงในต่อ อย่างที่หลายๆ คนอาจจะคิดว่า Wongnai เป็น Web หรือ App เพื่อดูร้านอาหาร Review ร้านอาหาร ดังนั้นอาจจะมี Programmer สักนิดๆหน่อยๆก็พอ เพราะตอนนีี้ก็พัฒนาเสร็จแล้วน่าจะพอแล้วจะมีอะไรให้ต้อง Code อีก? แต่ว่าเรื่องจริงสำหรับ IT Product นั้นต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาครับ เพราะธุรกิจนี้คนมา Copy ได้ไม่ยาก แต่ว่าผู้พัฒนา Product ต้องทำสิ่งต่างๆ เรื่อยๆ เพิ่ม Feature ที่ลูกค้าต้องการเรื่อยๆ ไม่งั้นก็จะเหมือน Hi5, Yahoo, Socialcam ที่ท้ายสุดก็โดนแย่งส่วนแบ่งการตลาดไปรวมไปถึงมีบางรายต้องปิดบริษัทเลยทีเดียว ทางพี่บอยเลยพยายามอธิบายงานต่างๆ ที่มีให้ทีม Dev ทำกันต่อไป ผมเลยขอเอามาสรุปคร่าวๆ ราวๆ นี้นะครับ
แตกต่างจากเว็บดังๆ ของไทยบางเจ้า ที่อาจจะมีแค่ 1 ประเภทเท่านั้น โดย Wongnai สามารถ แบ่งได้ Function เป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
อันนี้ผมขอแบ่งหมวดตามการจัดของผมเองละกันครับ โดยทุกๆ บทความอาจจะแบ่ง Feature ตามหัวข้อดังนี้ไปเลย
หรือพูดง่ายๆ คือการจัดการสิ่งที่ป้อนเข้ามาในระบบ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลนั้นๆ ไปทำงานอื่นๆ เพิ่มเติมต่อได้ โดยของวงในมี function ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ ดังนี้
1.1) Search – ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดจาก Google หรือเว็บ Social ทั้งหมดที่มีกล่อง Search โดยผู้ใช้งานต้องการหาอะไรซักอย่างนั้นแหล่ะ โดยคาดหวังว่าจะได้ผลลัพท์ที่ตรงกับความต้องการ โดยถ้า Search แล้วไม่ตรงซัก 2-3 ครั้งก็อาจจะโมโห หงุดหงิด ไม่ใช้งานอีกก็ได้ ดังนั้นระบบต้องรู้เลยว่า “สิ่งที่ป้อนเข้าไป” มีความหมายว่าอะไรโยสิ่งที่วงในต้องการทำ ได้แก่
ยกตัวอย่าง ก็ Timeline ของ facebook ที่จะเลือกสิ่งที่เราสนใจมากที่สุดเพื่อแสดงผลในหน้านั้นๆ โดยถ้า algolithm นี้ไม่ดีพอผู้ใช้งานอาจจะเซ็งที่ได้รับรู้สิ่งที่ไม่ตรงกับความสนใจของเรา โดยทาง Wongnai ก็ค่อนข้างเน้นเรื่องนี้เช่นกันดังที่จะเห็นได้จากเรื่องเหล่านี้
2.1) ดูร้าน “ใกล้” – ดังที่พี่บอยพิมพ์ไว้ใน Blog ว่าการที่ผู้ใช้ค้นหา “ร้านใกล้ตัว” จริงๆ แล้วถ้าให้ถูกต้อง ต้องบอกว่าผู้ใช้กำลังหา “ร้านดีๆ ใกล้ตัว” มากกว่า หรือในมุมมองที่ผมเสริมเข้าไปได้ คืออาจจะเป็นร้านประเภทที่ผมชอบ (ของหวาน, อาหารญี่ปุ่น) ที่อยู่ใกล้ๆ ด้วย โดยอาจจะดูประวัติจากอดีตว่าผมชอบ Bookmark หรือไป Review ร้านอาหารประเภทใดบ้าง รวมถึงอีกประเด็นนึงคือใกล้จะมีเรื่องการเดินทางมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น “ถ้าเรายืนอยู่แถวสยามสแควร์ ร้านที่อยู่แถวชิดลม ก็คงไม่เรียกว่าใกล้” “ถ้าเราอยู่ต่างจังหวัด คำว่าร้านใกล้ ก็อาจจะเป็น ร้านที่อยู่ห่างออกไปซัก 5 กิโลเมตร ”
2.2) ส่วนจัดลำดับการแสดงผล – คือการเลือกร้านที่ผู้ใช้สนใจขึ้นมาแสดงก่อนโดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงได้แก่
2.3) Feed – เป็นสิ่งที่ Social Network ต้องเจอเหมือนๆ กันคือการเลือก Content ยังไงให้น่าสนใจที่สุด และจะจัดเก็บและ Query ข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลยังไงให้ไม่กระทบกับเรื่อง Performance เช่น
“สมมติ User ชื่อ A มี Follower จำนวน 50,000 คน เมื่อ User A โพสอะไรก็ตามออกมา สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะต้องมีการเพิ่ม row ใน database อย่างน้อย 50,000 แถว ถ้า User คนนี้โพสทีเดียว 10 รูปรวด แสดงว่าจะต้องเพิ่มทีเดียว 500,000 แถว”
หมายถึงกระบวนการต่างๆ ที่ต้องมีในระบบงานเพื่อ Support ให้เกิด Input หรือ Output นั้นๆ โดย Wongnai มีองค์ประกอบเหล่านี้
3.1) นำ User Data มาใช้งาน เช่น ถ้า User เคยทานอาหารประเภทซูชิ ก็ควรเลือกร้านซูชิมาก่อน หรือ ถ้า User เคย Bookmark ร้านไหน หรือร้านประเภทใดๆ ก็นำร้านนั้นๆ มาขึ้นก่อน หรืออาจจะร้านในหมวดที่ User สนใจมาขึ้นก่อน
3.2) Performance -เมื่อใดก็ตามที่มี Output ออกมา Output นั้นๆ ต้องมีประสิทธิภาพที่ดีด้วย (เร็ว) ทั้งส่วนที่เป็น Web และ Mobile โดยที่ Wongnai ใช้คือการ caching เช่นการ caching การค้นหาตาม keyword ซึ่งอาจจะทำง่ายหน่อย แต่บางอย่างอาจจะ cache ยาก เช่นการค้นหาตาม latitude, longitude ดังนั้นก็ต้องคิดวิธี optimize การค้นหาร้านรอบตัวที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หรือใช้เทคนิคอื่นๆ มาเสริมเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ทั้งในด้าน Code และ Infrastructure
3.3) Big Data – ข้อมูลที่ Wongnai มีได้แก่ Geo-tagged, Profile ที่เกิดจาก Action ต่างๆ ของ user เช่น โพสรีวิว, โพสรูป, เช็คอิน, bookmark ร้าน, กด Like, คอมเม้นท์ ข้อแตกต่างของข้อมูลพวกนี้กับข้อมูลของเว็บอื่นๆ คือเป็น individual-centered มากกว่าจะเป็น group-centered อย่างเว็บบอร์ด
4.1) ระบบ e-Voucher – อันนี้ผมก็พึ่งไปใช้มาในการกินร้าน Sushi Den มา นับว่าค่อนข้างสะดวกสบายทีเดียว จ่ายผ่าน Line Pay ลดเพิ่ม 10% รวมทั้งได้ตุ๊กตาแถมมาด้วย พอไปใช้งานที่ร้านก็แค่แสดงหน้าบนมือถือให้ทางร้าน Stamp ก็จบ
4.2) Mobile App – เพื่อรองรับ OS ใหม่ๆ ที่ออกมาเรื่อยๆ รวมถึงการปรับหน้าตาให้ทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ โดยผมย้อนกลับไปดู Mobile App ของวงในสมัยออกมาใหม่ๆ กับตอนนี้ถือว่าต่างกันมากๆๆ เลยทีเดียว นับว่าปรับตามสมัยนิยมไปเรื่อยๆ
ท้ายสุดวงในยังเปิดรับสมัครพนักงานอยู่เป็นจำนวนมากนะครับ ใครสนใจดูรายละเอียดและการติดต่อได้ที่นี่
สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้เป็นพันธมิตรกับ Techsauce http://techsauce.co/ เพื่อส่งเสริมให้ Programmer ตระหนักในธุรกิจของ Tech Startup และเข้าใจในแง่มุมอื่นๆ นอกจาก Technical อย่างเดียวมากขึ้น เลยได้ส่วนลดสำหรับงาน Start it Up Conference ด้วยส่วนลด 35% เลยทีเดียว โดยสามารถใช้ Code ได้ตามนี้เลย
Code: TPA35
URL สำหรับลงทะเบียน : http://www.techsauce.co/startitup/
ข้อดีของงาน : http://techsauce.co/news/start-it-up-conference-2015/
ข้อดีของงานในแง่ Programmer :
1. เนื่อหามากมายที่เป็นด้านของ Non-Technical ที่ตจำเป็นสำหรับสายงาน Programmer
2. มีการ Pitching ทำให้เข้าใจแง่มุมในการนำเสนอของ Start up ซึ่งการนำเสนอแนวนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกๆ การนำเสนอ
3. ความรู้ด้านธุรกิจ เพื่อสามารถต่อยอดการทำเงินนอกเหนือไปจากสายงาน Programmer ได้
4. Workshop ที่เน้น Content ด้าน Programmer ได้แก่
– IOT โดย makerzoo และ ibm – เนื่องด้วยความมาแรงของ IOTเราควรจะรู้ว่ามันคืออะไร และทำอะไรได้บ้าง
– Skyscanner และ Discovery to Monetization ของ vmax – เพื่อศึกษาว่าบริษัทต่างๆ มีตัวอย่าง API หรือ SDK อะไรที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ โดยส่วนใหญ่ถ้าเราเรียนรู้ทั้งการออกแบบ API หรือการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ จากบริษัทหลายๆ รูปแบบ จะทำให้เราสามารถนำไปคิดออกแบบ API ได้เองในอนาคต
อย่าลืมเข้า Group เราด้วยนะครับ https://www.facebook.com/profile.php?id=240703846140892
ติดตามเรื่องราวแนว Startup CTO และการเป็นมากกว่า Programmer ได้ที่ Blog ผมนะครับ http://startupcto.net/