How to Get Hired by Top Tech Companies
Disclaimer เนื้อหาในบทความนี้เป็นมุมมองของผู้เขียนเพียง […]
หนึ่งใน career path ท้ายสุดที่สำคัญของสาย Programmer อย่างพวกเราคือการเป็น CTO ไม่ว่าจะในบริษัทใหญ่ หรือบริษัท ท้ายที่สุดก็ต้องมีใครสักคนที่ดูแลส่วน IT ทั้งหมด ซึ่งคนที่เหมาะสมก็ควรจะเป็นคนที่มาจากสาย Programmer อย่างเราๆนี่แหล่ะ แต่ว่าในอุตสาหกรรม Software ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างตลอดเวลา Programmer นอกจากพัฒนาสิ่งที่ตัวเองมีอยู่(Technical Skill เช่น การเขียนโปรแกรมให้ดีขึ้น เร็วขึ้น ใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้น) เราก็ควรจะพัฒนาทักษะด้านอื่นๆที่เหมาะสม เพื่อจะไปให้ถึงปลายทางท้ายที่สุดของสายอาชีพนี้
เราลองมาวิเคราะห์กันดู ว่าประโยชน์ของ Programmer ในการทำงานบริษัท Startup มีอะไรบ้างกันเลยดีกว่าครับ โดยผมแยกตาม State ต่างๆ ของ Start up ตามรูปด้านล่าง
โดยนี่คือมุมมองของลูกจ้างที่ไม่ใช้ Founder นะครับ
1. Startup แบบ Seed Funding
– ข้อดี – จะได้รับการปฏิบัติอย่างดี เพราะว่าเป็นรุ่นแรกๆ ถ้าบริษัทโต คุณก็จะได้ผลตอบแทนจากมูลค่าหุ้นเป็นปริมาณมหาศาลทีเดียว
– ข้อเสีย – เงินเดือนจำกัด จนถึงค่อนข้างน้อย
2. Startup ที่ได้รับ Early Stage
– ข้อดี – เงินเดือนกลางๆ จนถึงมาก ขึ้นกับบริษัท และความสามารถ
– ข้อเสีย – หุ้นที่ได้อาจจะน้อยลงมา หรืออาจจะไม่ได้เลย
3. Startup หลังจาก Later Stage
– ข้อดี – เงินค่อนข้างไม่เป็นปัญหาแล้วสำหรับขั้นนี้ สามารถให้ rate จ้าง Programmer ได้เท่ากับบริษัทข้ามชาติต่างๆ ทีเดียว แถมมีโอกาสได้หุ้นค่อนข้างมาก
– ข้อเสีย – เนื่องจากไม่ได้เป็นรุ่นแรกๆ ในบริษัท อาจจะได้หุ้นไม่มากนัก หรือไม่ได้เลย
โดยสรุปคือ ถ้าขยันและมีความสามารถ บริษํท Startup จะเห้นความสามารถของคุณเองครับ และมูลค่าของหุ้นส่วนใหญ่จะขึ้นไปจนคุ้มเหมือนคุณทำกิจการเองเลยทีเดียว ดังเช่น พนักงานรุ่นแรกๆ ของ Google หรือ facebook นั่นแหล่ะครับ (แต่เอามูลค่าบริษัทมาลองเทียบบรรยัติไตรยางค์กันเองนะครับ)
ในฐานะที่ผมเคยทำ Startup ในฐานะ CTO ทั้งที่สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, อเมริกาและประเทศไทยเราเอง ผมเลยอยากมาแชร์ประสบการว่าเราควรจะมีทักษะอะไรบ้าง เพื่อที่จะทำหน้าที่ในตำแหน่ง CTO เพื่อสนับสนุนองค์กรของเราให้แข็งแกร่งที่สุด โดยหลักๆ แล้วคุณสมบัติพวกนี้ไม่แตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็น CTO ในบริษัทใหญ่ๆ หรือ CTO ใน Startup Company ก็ตาม
1. การควบคุม Project ให้เป็นไปอย่างตรงเวลาและเหมาะสม (Strong Project Management Skill) รวมทั้งการจัดการผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ Project เพื่อให้สำเร็จไปด้วยดี
2. การสื่อสาร – เนื่องจากทุกฝ่ายแทบจะทั้งหมดยังไงก็ต้องมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับ CTO แต่ว่าการที่เราอยู่แต่หน้าคอมอย่างเดียว อาจจะไม่ถนัดด้านพูดคุยกับคนอื่นมากนัก จึงควรเพิ่มทักษะด้านนี้
3. Super Technical Skill – คุณต้องรู้ว่าจะใช้ Technology ไหนเพื่อตอบโจทย์ทาง business, รู้ว่าพัฒนาหรือเขียน Program ยังไงให้มีประสิทธิภาพที่สุด, การใช้ Technic ไหนมาลด cost ให้กับบริษัท
4. คิดแบบมองภาพรวม – ข้อข้างบนคือรู้ในด้าน Detail Technical แต่ว่า CTO ควรรู้ด้านภาพรวมด้วย (Detail Non Technical) เช่น การที่ CEO ต้องการทำ Function นึงๆ ควรจะทำระบบยังไงให้ตอบโจทย์ที่สุด, วิเคราะห์ function คู่แข่ง ว่าทำยังไงให้เหนือกว่า, รู้เรื่อง UX UI ว่าทำยังไงให้ผู้ใช้งานประทับใจ
5. จัดการมนุษย์ – สาย IT เป็นอีกสายที่ Programmer เป็นส่วนหลักของบริษัท (แบบเดียวกับสาย Finance ที่คุณค่าของบริษัทอยู่ที่คน)
วิเคราะห์หาจุดอ่อนตัวเอง แล้วเริ่มปรับปรุงครับ จะ Course Online หรือ เรียนก็ได้ หรืออาจจะเข้าร่วมสัมมนาต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Tech Startup โดยตั้งเป้าเลยว่าขณะนี้เราขาดคุณสมบัติใดบ้าง และจะศึกษาอะไรบ้าง และจำสำเร็จแต่ละจุดเมื่อไหร่
โดยล่าสุด สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้เป็นพันธมิตรกับ Techsauce http://techsauce.co/ เพื่อส่งเสริมให้ Programmer ตระหนักในธุรกิจของ Tech Startup และเข้าใจในแง่มุมอื่นๆ นอกจาก Technical อย่างเดียวมากขึ้น เลยได้ส่วนลดสำหรับงาน Start it Up Conference ด้วยส่วนลด 35% เลยทีเดียว โดยสามารถใช้ Code ได้ตามนี้เลย
Code: TPA35
URL สำหรับลงทะเบียน : http://www.techsauce.co/startitup/
ข้อดีของงาน : http://techsauce.co/news/start-it-up-conference-2015/
ข้อดีของงานในแง่ Programmer :
1. เนื่อหามากมายที่เป็นด้านของ Non-Technical ที่ตจำเป็นสำหรับสายงาน Programmer
2. มีการ Pitching ทำให้เข้าใจแง่มุมในการนำเสนอของ Start up ซึ่งการนำเสนอแนวนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกๆ การนำเสนอ
3. ความรู้ด้านธุรกิจ เพื่อสามารถต่อยอดการทำเงินนอกเหนือไปจากสายงาน Programmer ได้
4. Workshop ที่เน้น Content ด้าน Programmer ได้แก่
– IOT โดย makerzoo และ ibm – เนื่องด้วยความมาแรงของ IOTเราควรจะรู้ว่ามันคืออะไร และทำอะไรได้บ้าง
– Skyscanner และ Discovery to Monetization ของ vmax – เพื่อศึกษาว่าบริษัทต่างๆ มีตัวอย่าง API หรือ SDK อะไรที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ โดยส่วนใหญ่ถ้าเราเรียนรู้ทั้งการออกแบบ API หรือการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ จากบริษัทหลายๆ รูปแบบ จะทำให้เราสามารถนำไปคิดออกแบบ API ได้เองในอนาคต
พบกันตอนที่ 2 ต่อไปพรุ่งนี้ กับเรื่อง Dev Dev ของ Wongnai โดยผมนำมูลจากพี่บอย CTO วงใน มาเรียบเรียง
ติดตามเรื่องราวแนว Startup CTO และการเป็นมากกว่า Programmer ได้ที่ Blog ผมนะครับ http://startupcto.net/