Programmer Interview by สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ตอนที่ 4 – รัฐ ปัญโญวัฒน์

1. ช่วยกรุณาแนะนำตัวคร่าวๆให้พวกเรารู้จักด้วยครับ (ชื่อ ครอบครัว การศึกษา การทำงาน)

Ans: สวัสดีครับ ชื่อรัฐ ปัญโญวัฒน์ (รัฐ) นะครับ อายุ 30 ปี การศึกษาจริงๆ เรียนหมอมา แต่ว่าชอบเรื่องการพัฒนาซอฟท์แวร์ ก็เลยเป็นหมออยู่ปีเดียวแล้วย้ายสายงานมาทำเกี่ยวกับซอฟท์แวร์มาตลอด จากอยู่ฝ่าย IT ของโรงพยาบาล ก็มาทำ startup ของตัวเองครับ ทำมาหลายตัว เลิกหมดแล้วครับ 55 ตอนนี้โฟกัสแค่ตัวเดียวแล้วคือ Health at Home แต่ปัจจุบันผมก็ลดบทบาทตัวเองลงแล้ว เพราะมาเรียนต่อด้าน Health Informatics ที่สวีเดนครับ (ท่านใดสนใจทุนให้เปล่าเต็มจำนวนเรียนป.โทสวีเดนเชิญลิงค์นี้ครับ)

2. ทำไมถึงมีความชอบทางด้านโปรแกรมมิ่ง อะไรเป็นจุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจ

Ans: จุดเริ่มต้นจริงๆ คือตอนที่ทำ startup ตัวแรก เพื่อน co-founder ถอนตัวออกไปครับ จะจ้างก็ไม่มีเงิน ช่วงนั้นอ่านบทความเกี่ยวกับ startup บอก founder ควร code เป็นด้วย (สมัยนี้มีบทความออกมาแย้งเยอะเลย 55) ก็เลยเอาวะ ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว หัดเลยละกัน ช่วงแรกก็เริ่มจาก HTML/CSS ธรรมดาก่อน ต่อมาก็พบว่ามันไม่พอก็เลยได้มาหัด JavaScript แล้วก็ไหลมาเรื่อยเลยครับ ไม่พอซักที 55 คือไปๆ มาๆ ผมรู้สึกว่างาน programming เป็นสิ่งนึงที่ผมทำแล้วรู้สึกสนุกนะ ตราบที่ไม่เครียดเกินไป (เช่น ต้องเร่งให้เสร็จเร็วๆ) จริงๆ ผมว่าทุกสายงานก็เป็นงี้แหละครับ ถ้ากดดันมันก็ไม่สนุกทั้งนั้น แต่งาน programming ในไทยมักมีความกดดันสูง

3. คุณมีหลักการในการพัฒนาตนเองอย่างไรถึงได้ประสบความสำเร็จในสายงานนี้

Ans: ของผมนี่น่าจะเรียกว่ายังไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรเลยนะครับ 555 แต่ถ้าถามว่าพัฒนาตัวเองอย่างไร หลักๆ คือผมชอบการเรียนครับ ถ้าว่างก็ชอบนั่งดูคอร์สเล่น เว็บที่ชอบที่สุดก็คงเป็น Pluralsight ครับ

4. ในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่าน เล่นเทคโนโลยี หรือ library อะไรอยู่ ช่วยแนะนำคร่าวๆให้ชาวโปรแกรมเมอร์ได้มั้ยครับ

Ans: จริงๆ ต้องบอกว่าสองเดือนที่ผ่านมาไม่ได้แตะการ coding เลยครับ 55 เพราะเรียนแอบหนัก วันไหนไม่เรียนก็ต้องไปเที่ยวอีก ไม่เที่ยวเดี๋ยวไม่คุ้ม มาทั้งที :p แต่ตอนนี้สนใจเรื่อง data science มากสุด เพราะพอมาเรียน health informatics นี่ ถ้าไม่รู้เรื่อง data science แล้วรู้สึกบาป 55 อธิบายก็คือ วงการแพทย์เป็นวงการนึงที่ล้าหลังมากในการ adopt เอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใน workflow (หลายท่านก็น่าจะเคยสงสัยใช่ไหมครับ ว่าแค่รักษาที่อีกรพ.นึง ทำไมประวัติมันไม่ส่งหากันผ่านคอมได้?) ตอนนี้ในต่างประเทศเริ่มมีการเก็บข้อมูลทางการแพทย์ในรูปแบบ electronic มากขึ้น แต่เขาก็ยังงงๆ กันอยู่ว่าจะใช้ประโยชน์ข้อมูลเหล่านี้อย่างไร จึงเป็นที่มาของความต้องการด้าน data science ใน health informatics

5. ช่วยแชร์ประสบการณ์ทำงานโปรเจคต่างๆหน่อยครับ โปรเจคที่ยากที่สุดที่เคยทำมาคืออะไร และยากที่จุดไหน

Ans: ข้อนี้อายที่จะตอบจังครับ รู้สึกไม่เคยทำอะไรยากจริงๆ 55 คือสำหรับคนอื่นมันง่ายไงแต่สำหรับผมมันก็ยากอยู่นะ ยากสุดที่เคยทำแค่ Angular 1.x ให้เวอร์ชั่นนึงของ Health at Home แค่นี้แหละครับ 55 อีกอันนึงที่รู้สึกอยากก็คือเคยเขียน NodeJS app อันนึง งงเลยครับ ไม่เคยทำ backend มาก่อน งงตั้งแต่เริ่มโปรเจคท์ยัน deploy

6. โปรเจคที่ภูมิใจที่สุดที่เคยทำมาคืออะไร และเพราะอะไรถึงภูมิใจที่สุด

Ans: ภูมิใจที่สุดคงเป็น Health at Home นี่แหละครับ ทำมาแก้ปัญหาที่เป็น real pain ของสังคมจริงๆ ทุกท่านอาจไม่ทราบว่าปี 2030 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ 17 ล้านคนนะครับ ปัจจุบันเรามีเตียงของรพ.อยู่แค่ 200,000 เตียงทั้งภาครัฐและเอกชน เราเชื่อว่าบ้านคือคำตอบครับ ต้องสร้าง solution ที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านของตนเองได้ โดยได้รับบริการทางสุขภาพที่ดีพอ

7. คุณมีโปรแกรมเมอร์ที่เป็นไอดอลในใจมั้ยครับ ถ้ามีคือใคร และเพราอะไร

Ans: ช่วงผมหัดใหม่ๆ ผมเป็นติ่ง Douglas Crockford นะ อ่านหนังสือเขา ฟังที่เขาบรรยาย คนอื่นๆ ก็ Addy Osmani, TJ Holowaychuk สาเหตุหลักที่ชอบคือเขาสร้างอะไรเจ๋งๆ กันออกมาเยอะดีครับ ถ้าคนไทยก็คงพี่เนย สิทธิพล, พี่ปิง ศุภเสฏฐ์ ฯลฯ

8. มาถึงเรื่องการทำงานในองค์กรกันบ้าง วัฒนธรรมองค์กรในฝันของคุณเป็นอย่างไร

Ans: ผมชอบทำงานในทีมเล็กๆ 3-5 คนนี่ perfect ไม่เกิน 10 คนก็ได้อยู่ ส่วน culture ที่ผมชอบที่สุดคือความ craftmanship (ซึ่งจริงๆ อาจไม่ค่อยเหมาะกับ startup นะ เพราะควรจะรีบทำรีบ proof idea 55) รองๆ ลงมาคือ flat hierarchy, openness, remote working ฯลฯ

9. ช่วยให้คำแนะนำสำหรับ novice ที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อนและสนใจจะเข้ามาในวงนี้หน่อยครับ ว่าจะต้องวางตัวอย่างไร คุณสมบัติอะไรที่ควรมี ถึงจะทำให้ประสบความสำเร็จในวงการนี้ได้

Ans: ผมว่าก็ start with why แหละครับ ตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าอยากเขียนโปรแกรมได้เพื่ออะไร (คือ solution มันอาจไม่ใช่การหัดเขียนโปรแกรมน่ะครับ) หลังจากนั้นก็หัดภาษาอังกฤษก่อนเลย อันนี้ไม่ได้กวน แต่พูดจริงๆ นะครับ เดี๋ยวนี้ไม่มีใครคอยแปลหนังสือให้แล้ว ส่วน blog ก็ใช่จะพึ่งได้ แต่ถ้าได้ภาษา แหล่งความรู้เต็มไปหมดเลยในโลกนี้ หลังจากนั้นก็ค่อยเลือกเรียนเขียนโปรแกรม

ผมแนะนำบทความนี้เสมอนะครับสำหรับคนหัดเขียนโปรแกรม Why Learning to Code is So Damn Hard คำแนะนำคือ ไปให้ถึง Desert of Despair ให้เร็วที่สุดแล้วอดทนผ่านมันไปให้ได้ หลังจากนั้นก็จะดีเอง

10. และอีกกลุ่มนึงครับสำหรับกลุ่มโปรแกรมเมอร์ที่พอมีพื้นฐานแล้วอยากจะ raise the bar ของตัวเองไปอีกควรจะต้องทำตัวอย่างไร

Ans: ข้อนี้ไม่ทราบแล้วครับ เพราะผมก็กลุ่มพอมีพื้นฐานนี่แหละ 555

11. สำหรับเรื่องการพัฒนาตนเอง พอจะแนะนำหนังสือทางด้านโปรแกรมมิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ และควรต้องอ่านให้แก่ชาวโปรแกรมเมอร์ได้มั้ยครับ

Ans: ข้อนี้ผมก็ไม่รู้จะแนะนำอะไรเหมือนกันครับ ไม่ค่อยได้อ่าน แต่ถ้าจะแนะนำจริงๆ คืออยากให้อ่านเรื่อง soft skill กันเยอะๆ ครับ เพราะความรู้ applied programming มันอายุสั้นมาก ผมเคยเขียน Backbone, Angular 1.x เดี๋ยวนี้ไม่มีใครใช้แล้ว แต่ความรู้แบบ communication skills, conflict management, leadership ฯลฯ พวกนี้หัดครั้งเดียวแล้วอยู่กับเรายาว ที่สำคัญมันเป็นความรู้ที่สำคัญมากๆ ต่อการก้าวหน้าในสายอาชีพ (ผมเองก็อ่อนเรื่องพวกนี้เหมือนกันครับ)

13. คำถามนี้ขำๆนะครับ หากไม่เขียนโปรแกรมจะไปประกอบอาชีพอะไร

Ans: จริงๆ ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้กลับไปเขียนโปรแกรมหรือเปล่าด้วยครับ 555 คือยังไม่รู้เลยว่าจบไปจะไปทำงานอะไร

14. อยากให้วงการโปรแกรมเมอร์ไทยเป็นอย่างไรในตอนนี้และในอนาคต

Ans: เรื่องนี้ยาวและซับซ้อนมากครับ ตอบสั้นๆ คือ ผมอยากเห็นประเทศไทยเป็นประเทศ developed country ที่มี software innovation เป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ปัญหาต่างๆ ของวงการปรแกรมเมอร์ในปัจจุบัน (ค่าแรงต่ำ งานหนัก คนขาด ฯลฯ) ส่วนตัวผมมองมันเป็นผลของ middle income country trap แบบนึงนะ

15. และคำถามสุดท้ายครับ อยากจะฝากอะไรส่งท้ายแก่ผู้อ่านครับ

เช่น ว่าบริษัทกำลังทำไรอยู่, มีอะไรที่อยากจะ recruit programmer ไม๊ ไรเงี้ยก็ได้ครับ

Ans: ก็อยากฝากบริษัท Health at Home นะครับ ท่านใดต้องการหาผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านติดต่อเราได้ครับ healthathome.in.th และก็ฝาก fan page ผม A Doctor Who Codes & Travels ครับ

ช่องทางติดต่ออื่นๆ:

Website: rath.asia
LinkedIn:
Rath Panyowat
Instagram:
@rath.panyowat
Twitter:
@rathpanyowat
Behance:
rathpanyowat