TPA & Alibaba Cloud ผนึกกำลัง สร้างสรรค์สัมมนาและอบรม ต่อยอดความร่วมมือสู่อนาคต
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา คุณเซฟ พงษ์ศิริ นายก […]
NodeJS มีไลบรารี่ให้ใช้กว่า 2 แสนแพคเกจ (ณ วันที่ 6/2/2016) แม่เจ้า เยอะมากแล้วจะใช้ตัวไหนดี ดูทั้งหมดได้ที่ npmjs.com
หลักการเลือกใช้ไลบรารี่ทั่วไป แต่ละคนให้น้ำหนักไม่เท่ากัน ผมพิจาณาจาก เงื่อนไข ดังนี้
อั้ยย่ะ แค่เลือกใช้ไลบรารี่ สมัยนี้เสียเวลากว่าเขียนโค้ดอีกนะ
สำหรับการทำ * ระบบหลังบ้าน (Back End) มีไลบรารี่ในการทำ Web Framework ที่ได้รับความนิยมเท่าที่ผมรู้จักอยู่ 4 ตัว ได้แก่
ส่วนตัวแล้วเคยใช้แค่ Express กับ Restify เลือกใช้ Express เพราะมีฟังก์ชั่นเยอะครบเครื่องกว่าถึงแม้ Restify จะเร็วกว่าก็ตาม แต่ผมยังต้องการหน้าตาเว็บสำหรับบริหารจัดการระบบอยู่ถึงแม้ว่าจะทำแค่ระบบหลังบ้านก็ตาม ก็เลือกให้เหมาะกับงานและที่ถนัดครับ ไม่มีอะไรดีที่สุด มีดีมีเสียต่างกันไป
ติดตั้งโมดูล
รูปแบบการติดตั้งคือ เปิดโปรแกรม Terminal หรือ Command Line แลัว พิมพ์ npm install ชื่อแพคเกจ
มาติดตั้ง express กัน พิมพ์คำสั่ง ดังนี้
npm install express
เมื่อสั่งติดตั้งเสร็จแล้วหากไม่เจอปัญหาอะไร จะมีการสร้างโฟลเดอร์ ชื่อ node_modules
สังเกตว่ามีโมดูลชื่อ express หรือไม่
เมื่อได้โมดูลของ express มาแล้วเรามาลองเขียนโค้ดกัน ดังนี้
var express = require("express"); var app = express(); app.get('/', function (req, res) { console.log("Hello NodeJS!"); res.send('Hello NodeJS'); }) app.listen(3000); console.log("My Service is listening to port 3000.");
3. รันคำสั่ง
node ch4_express.js
4. เปิด Browser พิมพ์ url คือ localhost:3000
อธิบายโค้ด
var express = require("express");
อ้างถึง express ไลบรารี่
var app = express();
สร้าง new instance ของ expressใหม่ เก็บไว้ในตัวแปร app
app.get('/', function (req, res) { console.log("Hello NodeJS!"); res.send('Hello NodeJS'); })
เมื่อมีการเรียก http get เข้ามาด้วยรูทพาธ / จะเข้ามาทำงานภายในฟังก์ชั่นข้างในขอบเขตของ
function (req,res){
}
console.log(“Hello NodeJS”) ทำการแสดงข้อความบน หน้าจอ Terminal
res.send(“Hello NodeJS”) ทำการส่งข้อความกลับไปยังฝั่งไคล์เอนต์
app.listen(3000);
ทำการเปิด port ไว้ที่เลข 3000
สำหรับรายละเอียดการทำงานของ Restful และสิ่งที่ควรรู้ทั่วๆไปเกี่ยวกับ Restful API จะอธิบายในตอนต่อไป
พบกับตอนที่ 5 Restful API