คุณเซฟ นายกสมาคม TPA เข้าร่วมเสวนาความสำเร็จในอาชีพยุค AI ณ LearnCloud Education Forum 2024
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 คุณเซฟ พงษ์ศิริ นายกสมาค […]
1. วันเวลาและ สถานที่
วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลา 08.00 น. – 18.00 น.
สถานที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ค่าเข้างาน
ฟรี
3. จำนวนคนที่เปิดรับเข้าร่วมงาน
ไม่เกิน 120 คน
กำหนดการ
เวลา | รายการ |
08:00 – 09:00 น. | เตรียมงาน สถานที่และอุปกรณ์ |
09:00 – 09:30 น. | ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน พร้อมรับคูปองอาหารกลางวัน |
09:30 – 10:00 น. | เปิดงานตัวแทนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเจ้าภาพร่วม กล่าวเปิดงานตัวแทนจากเครือข่ายโปรแกรมเมอร์ไทย กล่าวแนะนำเครือข่ายและแนะนำกิจกรรมที่จะจัดขึ้นโดยเครือข่าย |
10:00 – 11:00 น. | Keynote: “How Pantip.com handle multi-million users.”คุญบอย อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ แห่ง Pantip.com |
11:00 – 12:00 น. | Session โดย นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(หัวข้อ รอการยืนยัน) |
12:00 – 13:00 น | พักทานอาหารกลางวัน |
เวลา | ห้องที่ 1 | ห้องที่ 2 | ห้องที่ 3 |
13:00 – 13:40 น. | “Transformation Priority Premises (TPP)”คุณปุ๋ยสมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนินแห่ง สยามชำนาญกิจ | “Web Dev 2000 vs 2014”คุณนัทณัฎฐ์ ปิยะปราโมทย์แห่ง Power-all Venture | “Amazon Web Service 101”คุณวิชดร.วิช เนียรนาถตระกูล แห่ง DailiTech |
13:40 – 14:20 น. | “Introduction to Golang”คุณป้อวีรศักดิ์ ช่องงูเหลือมแห่ง Sprint3r (T2Decode) | “How to survive and have fun without for loop”คุณแท็ป ณัฐนาท พรประสิทธิ์สกุล |
“Modeling and Simulation for Science”คุณบอยดร. วีรพงศ์ ผดุงศักดิ์อนันต์ |
14:20 – 15:00 น. | “Introduction to Golang” (ต่อ)คุณป้อวีรศักดิ์ ช่องงูเหลือมแห่ง Sprint3r (T2Decode) | “เลิกเขียน JavaScript กันดีกว่า”คุณเนยสดณัฐวุฒิ เพ็ชรมากนักศึกษาวิศวะคอมป.โท แห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | “Arduino M2M”คุณอาทอาคม ไทยเจริญ |
15:00 – 15:10 น. | พักเบรก | พักเบรก | พักเบรก |
15:10 – 15:50 น. | “Empirical Process”คุณรูฟทวิร พานิชสมบัติ แห่ง Odd-e |
“Webapp Workflow with Yeoman, Bower, and Grunt”คุณปิงศุภเสฏฐ์ ชูชัยศรีแห่ง Streaming | “When Programming Meets Art”คุณบุ๊นเกียรติยศ พาณิชปรีชาแห่ง Bit Studio |
15:50 – 16:30 น. | “Empirical Process” (ต่อ)คุณรูฟทวิร พานิชสมบัติ แห่ง Odd-e |
“Mobile Programming in 2014” คุณเนยสิทธิพล พรรณวิไลแห่ง The Cheese Factory |
“Test-Driven Development and Software Craftsmanship”คุณจั๊วโชคชัย ภัทรมาลัย แห่ง Odd-e |
16:30 – 17:00 น. | Open Dicussion & Brainstorm“พูดคุย เฮฮา ร่วมกันออกไอเดียเพื่อขยายเครือข่ายและพัฒนาโปรแกรมเมอร์ไทย” |
17:00 – 18.00 น. | ปิดงาน-จัดเก็บสถานที่ & After Party |
* หมายเหตุ กำหนดการณ์อาจมีการเปลี่ยนแปลง
4. รูปแบบงาน Code Mania
Seminar – ลักษณะงานเป็นการเชิญวิทยากรผู้เชียวชาญในสาขาอาชีพมาพูดในหัวข้อที่ตนเองเชี่ยวชาญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ร่วมงาน ซึ่งจะจัดเป็นแบบ parallel session จะได้เลือกเข้าฟังที่สนใจได้ โดยจะเป็น 3 ห้องพร้อมกัน ยกเว้น Keynote และ Open Discussion ที่จะใช้ห้องรวมห้องเดียวกัน
5. วัตถุประสงค์ในการจัดงาน
สร้างเครือข่ายของโปรแกรมเมอร์ให้ได้รู้จัก ช่วยเหลือ แบ่งปันความรู้กัน และพัฒนาทักษะทางเทคนิค รวมถึงแนวคิดในการทำงานให้นิสิต นักศึกษา และ บุคคลทั่วไป
6. กลุ่มผู้เข้าร่วมงาน
กลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทย
นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไปที่สนใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์
7. สิ่งที่คาดหวังจากการจัดกิจกรรม
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทยมีการนำแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์เกิดกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เหนียวแน่นในประเทศไทย อันเป็นการยกระดับและเพิ่มศักยภาพของวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น
นิสิต นักศึกษา หรือ บุคคล ทั่วไป มีความรู้และความเข้าใจ มุมมองในการนำแนวคิดพัฒนาซอฟต์แวร์
กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมงานนำแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ไปใช้กับการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
เป็นส่วนช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ในองค์กรต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
8. สิ่งที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะได้รับ
สืบเนื่องจากการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเป็นโอกาสให้คณาจารย์และนิสิตในสาขาวิชาฯ ได้รับประสบการณ์การจัดกิจกรรมของชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้คณาจารย์และนิสิตในสาขาวิชาฯ นำประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ไปต่อยอดทั้งในแง่การปรับปรุงกระบวนการสอนของคณาจารย์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ของโลกปัจจุบัน กระตุ้นนิสิตให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการที่ได้ฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มาร่วมงาน นอกจากนี้ยังเกิดเป็นเครือข่ายคนทำงานระหว่างภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อให้บริการวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์แก่นิสิตนักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไปในอนาคต
9. กลุ่มผู้รับผิดชอบ
คณะทำงานเครือข่ายโปรแกรมเมอร์ไทย กลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระที่เกิดจากการรวมกลุ่มกัน ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีความสนใจด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทย
10. รายละเอียดของงาน
Code Mania คือ กิจกรรมการพบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนความรู้ของชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายของโปรแกรมเมอร์ให้ได้รู้จัก ช่วยเหลือ แบ่งปันความรู้กัน และพัฒนาทักษะทางเทคนิค รวมถึงแนวคิดในการทำงานให้นิสิต นักศึกษา และ บุคคลทั่วไป
งาน Code Mania เป็นรูปแบบ Seminar ลักษณะงานเป็นการเชิญวิทยากรผู้เชียวชาญในสาขาอาชีพมาพูดในหัวข้อที่ตนเองเชี่ยวชาญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ร่วมงาน ซึ่งจะจัดเป็นแบบ parallel session จะได้เลือกเข้าฟังที่สนใจได้ โดยจะเป็น 3 ห้องพร้อมกัน ยกเว้น Keynote และ Open Discussion ที่จะใช้ห้องรวมห้องเดียวกัน โดยจะมี session สำหรับนิสิตให้ได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันความรู้และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนักพัฒนา