TPA จับมือยกระดับค้าปลีกไทย สู่ยุคดิจิทัล ภายในงาน Go Tech Talk 2025
สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้เข้าร่วมงาน Go Tech Talk: Retai […]
[img src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon.jpg”]
วันนี้สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยร่วมกับสมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์สได้ร่วมกันจัดงาน “DevUnCon” ขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์แปลกใหม่สำหรับผมและทีมงานเหมือนกันเลยขอมาเล่าให้ฟังทั้งในฐานะผู้จัดงานและผู้ร่วมงานไปในตัวนะครับ
ลักษณะงาน
เป็นงานแบบ “Unconference” นั่นคือไม่มีกำหนดการและวิทยากรตายตัวเหมือนงาน conference ทั่วไป ถ้าใครเคยไปงาน Barcamp ก็จะมีลักษณะเป็น unconference ในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นผมจะพยายามเปรียบเทียบกับ Barcamp ให้คนอ่านเห็นภาพมากขึ้นนะครับ
ถ้าเทียบกับ Barcamp ที่ผมเคยไปร่วมงานแล้ว งาน DevUnCon (ครั้งนี้)จะถือว่าค่อนข้างเล่นสดกว่ามาก และมีลักษณะที่ทำให้เกิดการผู้คุยกันมากกว่า เป็นงานแนวเกือบจะ Open Space (จริงๆเรียกว่าเป็นแนว Open Space เลยก็ได้อยู่) โดยธีมในครั้งนี้คือแชร์ประสบการณ์การพัฒนา Open Source
เริ่มงาน
เมื่อเริ่มงานคุณ Johan Jannesens ซึ่งเป็น Co-founder ของ Joomla ได้มาเป็น facilitator (ผู้อำนวยความสะดวก) ให้ หน้าที่ของ facilitator คือจะไม่พูดเองแต่จะช่วยทำงานให้งานไหลลื่น ช่วยเพิ่มสีสันและ dynamic ให้กับงานให้คนเกิดปฏิสัมพันธ์กัน โดยเริ่มจากให้ทุกคนแนะนำตัวเอง และเรื่องที่ตัวเองสนใจอยู่
[img src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon1.jpg”]
หลังจากนั้นจะให้ทุกคนไปเขียน post-it เอาไปแปะ โดยมีให้เขียน 1. สิ่งที่ตัวอยากเรียนรู้ (Learn) 2. สิ่งที่ตัวเองสามารถแบ่งปันได้ (Share) ให้เขียนอย่างน้อยอย่างละ 1 keyword (Barcamp จะเป็นเขียนหัวข้อเต็มที่ตัวเองอยากพูด และไม่มีเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้)
[img class=”aligncenter” src=”/wp-content/uploads/2018/07/14370252_10153918890100509_4683988819259033454_n.jpg”]
หลังงานนั้นจะให้ทุกคนไปโหวตให้คนละ 3 vote ใน Learn โดยไป vote ว่าเราอยากเรียนรู้เรื่องนั้นๆเหมือนกัน และ 3 vote ใน Share โดยไป vote ว่าเราอยากฟังคนแชร์เรื่องนั้นๆเหมือนกัน
[img class=”aligncenter” src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon2.jpg” ]หลังจากนั้นคุณ Johan กับทีมงานก็จะช่วยกันจัดกลุ่มหัวข้อที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน และดูจำนวน vote ว่าเรื่องไหนน่าจะมีคนมาพูด โดยถามหาอาสาสมัครว่าใครพูดเรื่องนั้นๆได้ แล้วก็ทำการแบ่งเป็น 2 ห้อง โดยให้ห้องละ 20 นาที ถามตอบ 5 นาที
[img class=”aligncenter” src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon3.jpg”]
ลักษณะการแบ่งปัน
การพูดเน้นความสด ไม่มีการเตรียมสไลด์อะไรมาเว้นแต่ว่าบางคนจะเคยมีสไลด์มาใช้ประกอบเรื่องที่อยากพูดได้ หรือบางคนก็พูดโดยใช้กระดาษ หรือบางคนก็เปิดเว็บให้ดูไปด้วยกัน โดยลักษณะก็จะเป็นแนว informal เหมือนการจับกลุ่มคุยกันในเรื่องที่สนใจร่วมกันซะมากกว่า ก็พูดคุยถามตอบกันได้ตรงนั้นเลย เรียกว่าบรรยากาศกันเองมากๆ และได้ความรู้มากๆ (Barcamp คนพูดในแต่ละ session จะยังคล้าย conference คือพูดหน้าเวที พูดจบถามตอบ ลักษณะยังกึ่งๆออกแนว conference ในช่วงนำเสนอ) โดยอนุญาตให้สามารถลุกออกจากวงอย่างสุภาพถ้ารู้สึกว่าเบื่อหรือไม่สนใจแล้วได้ ไม่ผิดอะไร (ในช่วงนี้มีทั้ง session ภาษาไทย และ อังกฤษ)
[img class=”aligncenter” src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon4.jpg”]หลังจากผ่านไป 3 time slot ก็พักเบรกกัน ระหว่างพักเบรกก็กินขนมและพูดคุยทำความรู้กันตามอัธยาศัย
Geek Out
กลับมาหลังจากเบรก คุณ Johan เปิดช่วงใหม่ขึ้นมาแบบไม่มีคนรู้ตัวชื่อว่าช่วง “Geek out” โดยจะมีคอมต่อขึ้นจอให้หนึ่งตัว และมีกฎว่าให้ทุกคนช่วยกันขึ้นมาพูดเรื่อง Productivity tool อะไรก็ได้คนละ 2 นาที โดยห้ามใช้คอมตัวเอง ถ้าหมดเวลาโดนเตะออกเปลี่ยนคนถัดไปทันทีไม่มีต่อเวลา ให้ผลัดกันขึ้นมาเรื่อยๆไม่ให้ขาดสาย โดยเป็น session ที่เวลาผ่านไป 1 ชั่วโมงเร็วมากๆ สนุกมากช่วงนี้ (ช่วงนี้ทุกคนพร้อมใจกันพูดอังกฤษหมดเลย)
[img src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon5.jpg”]
[img class=”alignnone size-full wp-image-1620″ src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon7.jpg”]ส่วนเวลา 1 ชั่วโมงสุดท้ายก็นำ session ที่เหลือมากระจายกลุ่มกันต่อเหมือนเดิม
หลังจากนั้นก็ให้ทุกคน feedback งานสั้นๆ คนละไม่เกิน 2 คำ และช่วยกันเก็บของจัดโต๊ะ ถ่ายรูปรวม และปิดงานกันแบบสบายๆไม่มีพิธีใดๆ
[img src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon6.jpg”]หัวข้อในงานครั้งนี้ที่พูดกันมีดังนี้
1a) Relay 1b) Data science 101
2a) Progressive web app 2b) Thai open source projects
3a) Open source culture @ Facebook 3b) How to contribute to open source projects?
Geek out: Productivity tools for developers
4a) Relay/GraphQL (continue) 4b) Micro services + Open Data
ช่วง Geekout มีการแชร์ 27 เรื่องดังนี้
เบื้องหลังการเตรียมงาน
ถือว่าเป็นงานที่ใหม่สำหรับทีมงานมาก เพราะไม่เคยจัดงานลักษณะนี้มาก่อน โดยทีมงานก็ไม่มีใครรู้เลยว่า Johan จะอยากให้ออกมาสไตล์ไหน รู้กันตอน 2 ทุ่มกว่าก่อนวันงานเมื่อ Johan บินมาถึงไทย (หลายวันก่อนนั้น Johan บอกแค่ไม่ต้องเตรียมอะไร แต่ยังไม่ให้รายละเอียดอะไรเพิ่มเติมมา)
ทีมงานบางคนเคยไปร่วมงาน unconference ทั้งในและต่างประเทศมาบ้างและรู้สึกว่าไม่ค่อยเวิร์ค เลยกลัวเหมือนกันว่างานนี้จะออกมาเป็นยังไง (ตอนแรกทีมงานวางไว้ให้ Johan พูดเป็น keynote แต่เค้าบอกว่าถ้าทำแบบนั้นจะสูญเสียความเป็น unconference ไปเลยเอาออกหมด)
สุดท้ายทีมงานตัดสินใจเชื่อ Johan ไม่เตรียมอะไรเลย ซื้อกระดาษ ปากกา กันก่อนเริ่มงาน 1 ชั่วโมง สดที่สุดตั้งแต่เตรียมงานกันมา และงานออกมาดีอย่างไม่น่าเชื่อ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
งาน unconference ลักษณะนี้ผมคิดว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จหลักๆเลยคือ
1. facilitator มีผลอย่างมากในการเพิ่มบรรยากาศงานให้สนุก การช่วยผลักดันให้คนมีส่วนร่วมกัน และการพยายามลากบทสนทนาที่เริ่มนอกเรื่องไปไกลให้กลับมา ซึ่ง Johan ทำหน้าที่นี้ได้อย่างยอดเยี่ยมมาก (ผมขำแทบจะเกือบทุกประโยคที่เค้าพูดแม้เค้าจะทำหน้าตายมาก)
[img src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon10.jpg”]
2. ผู้มาร่วมงาน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ถ้าคนที่มาร่วมงานดี พูดได้น่าสนใจ และคนร่วมงานช่วยกันพูดคุย ถามตอบ ไม่นั่งนิ่งเป็นผู้รับอย่างเดียว งานจะสนุกมาก
[img src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon8.jpg”]
Sponsors
สุดท้ายขอขอบคุณ Sponsor และทีมงานจาก True Incube, Marvelic Engine, สมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส และสมาคมโปรแกรมแกรมเมอร์ไทย ที่สนับสนุนการจัดงานนี้
[img src=”/wp-content/uploads/2016/09/DevUnCon9.jpg”]
ผมและทีมงานหวังว่าจะได้จัดงานสนุกๆลักษณะนี้เพิ่มอีกนะครับ